โครงการฝึกอบรม-ฝึกงาน เตรียมพร้อมให้คนพิการเข้าสู่การทำงานในสถานประกอบการ
หลักสูตร เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน
1. หลักการและเหตุผล
ตามที่ได้มีพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ซึ่งกฎกระทรวงว่าด้วยการจ้างงานคนพิการ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2554
แต่จนถึงปัจจุบันมีสถานประกอบการเป็นจำนวนมากยังไม่สามารถจ้างคนพิการตามมาตรา 33 ที่กำหนดให้สถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับคนพิการเข้าทำงานในอัตรา 100 : 1 เนื่องจากผู้พิการยังขาดความรู้ทักษะและความสามารถ มจธ. จึงได้จัด โครงการฝึกอบรม-ฝึกงาน เตรียมพร้อมให้คนพิการเข้าสู่การทำงานในสถานประกอบการ หลักสูตร เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน ขึ้น
โดยหลักสูตร เจ้าหน้าที่สำนักงาน เป็นหลักสูตรทางเลือกหนึ่งซึ่งสถานประกอบการทุกแห่งจำเป็นต้องมีบุคลากรในสาขานี้ และเป็นอาชีพที่ผู้พิการสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากแต่ต้องได้รับการเรียนรู้และฝึกทักษะให้มีความสามารถครบถ้วนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งงานนี้ มหาวิทยาลัยจึงได้จัดทำหลักสูตร และขออนุมัติหลักสูตรเพื่อใช้ฝึกอบรม-ฝึกงาน ตามโครงการดังกล่าว
2. วัตถุประสงค์
3.กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
1. สถานประกอบการ
สถานประกอบการที่ประสงค์เข้าร่วมในมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 สนับสนุนงบประมาณการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการกับ มจธ.
2. คุณสมบัติของผู้พิการ ที่เข้าร่วมโครงการ
ผู้พิการที่เข้าร่วมโครงการต้องสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และต้องมีคุณสมบัติตรงตามที่สถานประกอบการระบุไว้ โดยลักษณะความพิการที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย แบ่งออกเป็น
คนพิการทางด้านร่างกาย ที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ สามารถใช้นิ้วมือทั้ง 10 นิ้วได้อย่างถนัด สามารถเคลื่อนไหวตัวเองได้โดยไม่ต้องมีผู้ช่วยเหลือ สามารถนั่งบนเก้าอี้ได้ หรือนั่งบนรถเข็นแล้วสามารถย้ายตัวเองมานั่งในเก้าอี้ได้ หรือสามารถนั่งในรถเข็นแต่มีความรู้สึก มีประสาทรับรู้ตั้งแต่ช่วงเอวลงไปได้ เช่น พิการขาขาด พิการขาลีบ พิการจากโรคโปลิโอ พิการที่ต้องใช้ไม้เท้า พิการที่ข้อเท้าเป็นต้น
คนพิการทางการได้ยิน ที่มีความสามารถในการสื่อสารภาษาเขียนตามหลักภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และคนไม่พิการทางการได้ยิน เช่น การสื่อสารระหว่างบุคคลด้วยการเขียนตามหลักภาษาศาสตร์ เป็นต้น
คนพิการทางการเห็น ที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่ต้องมีผู้ช่วยเหลือ
4. ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ระยะเวลาการดำเนินโครงการรวม 6 เดือน ตั้งแต่ เดือนมิถุนายน – เดือนพฤศจิกายน
5. งบประมาณ
การดำเนินโครงการจะได้รับงบประมาณจากสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ เป็นจำนวนเงินเท่ากับที่สถานประกอบการต้องจ่ายเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ตามมาตรา 35 เมื่อสถานประกอบการไม่สามารถจ้างคนพิการครบตามจำนวนที่มาตรา 33 กำหนด โดยสถานประกอบการต้องจ่ายสมทบเป็นจำนวน 109,500 บาท (หนึ่งแสนเก้าพันห้าร้อยบาทถ้วน) ต่อคนพิการ 1 คน
6. ผู้รับผิดชอบโครงการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สมาคมนักศึกษาเก่า มจธ.
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง (สวท.)
ศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวง และโครงการตามพระราชดำริ
โครงการมหาวิทยาลัยกับชุมชนและสังคม
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
สถานประกอบการมีทางเลือกในการปฏิบัติตามกฏหมาย มาตรา35 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550
คนพิการได้พัฒนาความสามารถ และค้นพบศักยภาพของตน อันนำไปสู่การมีงานทำ มีรายได้ สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
คนพิการได้พัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพ และมีความพร้อมเข้าทำงานในสถานประกอบการ
มหาวิทยาลัยได้ช่วยเหลืองานด้านบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม
8. สถานที่
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมกล้าธนบุรี
9. คุณสมบัติและการคัดเลือกประเมินวิทยากร
คณะผู้ดำเนินการหลักสูตร ได้กำหนดคุณสมบัติวิทยากร ดังนี้
วิทยากรหลักวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี สาขาที่เกี่ยวข้อง เป็นบุคลากรของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะผู้ดำเนินการโครงการจะคัดเลือกวิทยากรโดยพิจารณาผ่านคณะทำงานด้านวิชาการของหลักสูตร โดยพิจารณาจาก คุณวุฒิ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์การทำงาน โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ ประกอบกันได้แก่
มีคุณทางวุฒิการศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่บรรยาย หรือ
มีการดำเนินงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือผ่านการอบรม มีความเชี่ยวชาญ ในหัวข้อที่บรรยาย หรือ
มีประสบการณ์ในการทำงานในหัวข้อที่บรรยาย ไม่น้อยกว่า 5 ปี
ผู้ช่วยฝึกทักษะภาคปฏิบัติ วุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี หรือ เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในหัวข้อการบรรยาย ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ นักศึกษาซึ่งผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการดำเนินโครงการ
10. การผ่านเกณฑ์และได้รับประกาศนียบัตร
การผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตร ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 80% ของระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการ โดยประกาศนียบัตร แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
ประกาศนียบัตรการสอบผ่านและสำเร็จหลักสูตร เป็นประกาศนียบัตรซึ่ง ผู้เข้ารับร่วมโครงการภาคทฤษฎีและเข้าร่วมกิจกรรมตามระยะเวลาที่กำหนด และทำการทดสอบได้ไม่น้อยกว่า 60%
ประกาศนียบัตรการเข้าร่วมโครงการ เป็นประกาศนียบัตรซึ่ง ผู้เข้ารับร่วมโครงการภาคทฤษฎีและเข้าร่วมกิจกรรมตามระยะเวลาที่กำหนด แต่ไม่ผ่านการทดสอบ หรือได้คะแนนน้อยกว่า 60%
11. การประเมินผลประสิทธิภาพโครงการ
ประเมินจากแบบสอบถามผู้เข้ารับการอบรม-ฝึกงาน ตามแบบฟอร์มประเมินผลของศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อด้านต่างๆ ดังนี้
ด้านเนื้อหาการฝึกอบรม-ฝึกงาน
ด้านสถานที่และการบริการ
ด้านวิทยากรผู้บรรยาย
- ใช้การประเมินจากแบบประเมินผลวิทยากร โดยประเมินในประเด็นเนื้อหา วิธีการนำเสนอ และภาพรวมความพึงพอใจจากผู้เข้าร่วมโครงการ
ทั้งนี้การประเมินจะประเมินผลจะกระทำในวันสุดท้ายของหัวข้อรายวิชา