หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับผู้ควบคุมการผลิต (Retort Supervisors)
ในการผลิตอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำและชนิดที่ปรับกรด
ระหว่างวันที่ 6-10 สิงหาคม 2561
ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพฯ
หลักการและเหตุผล
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 349) พ.ศ. 2556 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำ และชนิดที่ปรับกรด ได้กำหนดให้อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำ และชนิดที่ปรับกรดเป็นอาหารที่กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหารเป็นการเฉพาะ และต้องจัดให้มี “ผู้ควบคุมการผลิต”อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำ และชนิดที่ปรับกรดที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และมีหลักสูตรไม่น้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในบัญชีหมายเลข 3 ท้ายประกาศฉบับดังกล่าว โดยหลักสูตรนั้นต้องมีระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ไม่น้อยกว่า 5 วันต่อเนื่อง และผ่านการทดสอบความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากรผู้ควบคุมการผลิต (Retort supervisors) อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำ และชนิดที่ปรับกรด จึงได้ขอขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยฝึกอบรมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เพื่อจัดการอบรมดังกล่าวเพื่อให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และมาตรฐานสากล
วัตถุประสงค์
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร เทคโนโลยีทางอาหาร วิศวกรรมอาหาร หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้ควบคุมการผลิต (Retort supervisors) หรือ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องในการผลิตอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำและชนิดที่ปรับกรด
ระยะเวลาการอบรม
วันที่ 6-10 สิงหาคม 2561 (รวม 5 วัน)
ค่าลงทะเบียน
ท่านละ 8,500 บาท
ประกาศนียบัตรการฝึกอบรม
ผู้เข้าอบรมต้องเข้าร่วมกิจกรรมและมีระยะเวลาเข้าอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และสอบผ่านข้อเขียนร้อยละ 70 (โดยสอบซ่อมได้ 1 ครั้ง) ใน 6 หัวข้อหลัก (หัวข้อที่ 1-6) จึงจะได้รับ “ประกาศนียบัตรการสอบผ่านและสำเร็จหลักสูตร”การฝึกอบรม ส่วนอีก 8 หัวข้อของการอบรม (หัวข้อที่ 7-14) กรณีที่สอบผ่านข้อเขียนร้อยละ 70 (โดยสอบซ่อมได้ 1 ครั้ง) จะระบุเฉพาะหัวข้อที่สอบผ่านไว้ในประกาศนียบัตรเพิ่มเติมจาก 6 หัวข้อหลัก
หมายเหตุ กรณีเป็นผู้ผลิตอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำ ต้องสอบเพิ่มเติมในหัวข้อเครื่องฆ่าเชื้อและหลักการทำงาน ตามชนิดที่มีการใช้งานจริง ณ สถานที่ผลิต
ส่วนผู้เข้าอบรมที่สอบไม่ผ่านร้อยละ 70 (รวมการสอบซ่อม 1 ครั้งแล้ว) ใน 6 หัวข้อหลัก จะได้รับเพียง “ประกาศนียบัตรการเข้าอบรม”ซึ่งไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงคุณสมบัติผู้ควบคุมการผลิต (Retort supervisors) ตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 349) พ.ศ. 2556 ได้
คณะวิทยากร
สถานที่การจัดอบรม
ณ ห้องประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ อาคารเรียนรวม 4 ชั้น 2
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมกล้าธนบุรี
ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
หัวข้อการอบรมภาคทฤษฎี
1. จุลชีววิทยาของการฆ่าเชื้ออาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
2. หลักการสุขาภิบาลโรงงานอาหาร
3. หลักการใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้ออาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
4. การจัดการดูแลภาชนะบรรจุอาหาร
5. บันทึกข้อมูลและการจัดเก็บเอกสาร
6. อุปกรณ์ เครื่องมือวัด และ การดำเนินการของระบบฆ่าเชื้อด้วยความร้อน
7. อาหารปรับกรด
8. เครื่องฆ่าเชื้อแบบนิ่งที่ใช้ไอน้ำ
9. เครื่องฆ่าเชื้อแบบนิ่งที่ใช้ความดันเพิ่ม
10. ระบบเครื่องฆ่าเชื้อแบบหมุนที่ทำงานเป็นชุดและเครื่องฆ่าเชื้อที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง
11. ระบบการผลิตและบรรจุแบบปลอดเชื้อ
12. บรรจุภัณฑ์โลหะและพลาสติกแบบตะเข็บสองชั้น
13. บรรจุภัณฑ์อ่อนตัวและกึ่งคงรูป
14. บรรจุภัณฑ์แก้ว
15. กฎหมายที่เกี่ยวข้องและหลักการเบื้องต้นของการผลิตอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
การอบรมภาคปฏิบัติ
กิจกรรม Workshop แบ่งกลุ่มทำงาน อภิปรายในหัวข้อที่กำหนด และนำเสนอข้อสรุปจากการอภิปราย
ผู้ดำเนินการจัดอบรม
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
โทร. 02 470 9630-4 โทรสาร 02 427 9633
E-mail : icec@kmutt.ac.th
....
126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
กรุณาโอนเงินเเข้าบัญชี มจธ. – บริการวิชาการ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 330-1-16927-2
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จํากัด (มหาชน) สาขาย่อย ถนนประชาอุทิศ
หรือแคชเชียรเช็ค : สั่งจ่ายในนาม มจธ. – บริการวิชาการ