นโยบายความเป็นส่วนตัว

1. ขอบเขตและวัตถุประสงค์ของนโยบาย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครเข้าศึกษา ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เพื่อชี้แจงรายละเอียดการเก็บรวบรวม การใช้ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครเข้าศึกษา ตามขอบเขตและวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย และอาจมีการทบทวนปรับปรุงเมื่อใดก็ได้ตามที่จะแจ้งให้ผู้สมัครเข้าศึกษาทราบตามช่องทางสื่อสารที่เหมาะสมต่อไป
ตามนโยบายนี้
“มหาวิทยาลัย” หมายความว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครเข้าศึกษาซึ่งทำให้สามารถระบุตัวตนผู้สมัครได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
“การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า การดำเนินการใด ๆ ของมหาวิทยาลัยต่อข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครเข้าศึกษา รวมถึง การเก็บรวมรวม การใช้ การจัดเก็บ การเปิดเผย และการลบ ข้อมูลส่วนบุคคล
“ผู้สมัครเข้าศึกษา” หมายความว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติ และคุณวุฒิตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ดำเนินการสมัครเพื่อพิจารณาเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี บัณฑิตศึกษา ประกาศนียบัตร ฝึกอบรม กลุ่มวิชา และรายวิชา
“เว็บไซต์” หมายความว่า เว็บไซต์ ระบบรับสมัคร และ/หรือแอปพลิเคชัน ซึ่งให้บริการโดยมหาวิทยาลัย
“คุกกี้ (Cookies)” หมายความว่า แฟ้มขนาดเล็กที่จัดเก็บข้อมูลโดยการบันทึกลงในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมือสื่อสารผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) ที่เลือกใช้ โดย “คุกกี้” จะช่วยเว็บเบราว์เซอร์ในการนำทางไปยังเนื้อหาส่วนต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ที่เข้าเยี่ยมชมได้สะดวกมากขึ้น
อนึ่ง นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้มีขึ้นเพื่อบังคับใช้กับการลงทะเบียนสมัครบัญชีผู้ใช้ การสมัครเข้าศึกษาต่อ การเข้าถึงเนื้อหา ฟีเจอร์ เทคโนโลยี หรือฟังก์ชันที่ปรากฏในเว็บไซต์นี้ ตลอดจนแอปพลิเคชัน ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่จะพัฒนาให้มีขึ้นในอนาคต ผู้สมัครเข้าศึกษาทุกคนจึงต้องอ่านนโยบายนี้ รวมถึงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเฉพาะกรณีอื่น ๆ ที่ผู้สมัครเข้าศึกษาอาจเข้าถึงได้และมีส่วนเกี่ยวข้อง และมีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มเติมในกรณีนั้น ๆ เพื่อที่ผู้สมัครเข้าศึกษาจะได้ทราบและเข้าใจว่ามหาวิทยาลัย เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครเข้าศึกษาอย่างไร

2. การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล

มหาวิทยาลัยจะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการจัดเก็บ “คุกกี้” เมื่อผู้สมัครเข้าศึกษาได้เข้าถึงเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน และดำเนินการลงทะเบียนสมัครบัญชีผู้ใช้ สมัครเข้าศึกษาต่อ มีสิทธิ์ชำระค่าสมัคร มีสิทธิ์สอบข้อเขียน/สัมภาษณ์ มีสิทธิ์เข้าศึกษา ตลอดจนมีสิทธิ์ชำระค่ายืนยันสิทธิ์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลต่อกระบวนการสมัครและรับเข้าศึกษา การติดต่อให้บริการประชาสัมพันธ์ หรือให้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาประมวลผลเพื่อจัดทำสถิติ และข้อมูลเชิงวิเคราะห์อันเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการ มหาวิทยาลัยจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลดังต่อไปนี้

รายละเอียดส่วนตัว เช่น หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขหนังสือเดินทาง คำนำหน้า ชื่อ-นามสกุล เพศ วันเดือนปีเกิด อายุ สัญชาติ และความสามารถพิเศษ เป็นต้น
ประวัติการศึกษา เช่น ชื่อสถานศึกษา วุฒิการศึกษา สาขาวิชา/แผนการเรียน สถานะการศึกษา (กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษา) เกรดเฉลี่ยสะสม คะแนนกลุ่มสาระการเรียนรู้ หัวข้อวิจัย อาจารย์ที่ปรึกษา และรายละเอียดการตีพิมพ์ เป็นต้น
ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น ที่อยู่ปัจจุบัน หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล์ และข้อมูลผู้ปกครอง เช่น ชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ ของบิดามารดา (เฉพาะผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี)
ประวัติการทำงาน เช่น อาชีพ ตำแหน่ง สถานที่ทำงาน หมายเลขโทรศัพท์ที่ทำงาน และประสบการณ์การทำงาน/งานวิจัย (เฉพาะผู้สมัครเข้าศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา)

3. การใช้ข้อมูลและการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

มหาวิทยาลัยใช้ข้อมูลและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับผู้สมัครเข้าศึกษา ดังต่อไปนี้

มหาวิทยาลัยจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครเข้าศึกษาเท่าที่จำเป็นเพื่อประมวลผล โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้สมัครเข้าศึกษา รวมถึงการจัดเก็บ “คุกกี้” ตั้งแต่ได้เข้าถึงเว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน และดำเนินการลงทะเบียนสมัครบัญชีผู้ใช้ การติดต่อให้บริการประชาสัมพันธ์ หรือให้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รวมถึงประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ชำระค่าสมัคร ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียน/สัมภาษณ์ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา จนถึงเป็นผู้มีสิทธิ์ชำระค่ายืนยันสิทธิ์
มหาวิทยาลัยขอรับรองว่าจะไม่นำข้อมูลส่วนบุคคล ไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ นอกขอบเขตและวัตถุประสงค์ หรือเผยแพร่ให้กับบุคคลภายนอก เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลเท่านั้น
มหาวิทยาลัยอาจมีความจำเป็นให้หน่วยงานภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ต้องเข้าถึงและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประมวลผลข้อมูล ตรวจสอบวุฒิการศึกษา หรือตรวจสอบประวัติอาชญากรรม เช่น การส่งข้อมูลผู้สมัครและผู้ผ่านการคัดเลือก ผ่านระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS : Thai University Center Admission System) ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ผู้ยืนยันเลือก มจธ. เป็นต้น

ในกรณีที่มหาวิทยาลัยใช้หรือส่งข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครเข้าศึกษาไปยังหน่วยงานภายนอก มหาวิทยาลัยจะดำเนินการเท่าที่จำเป็นโดยใช้หรือส่งข้อมูลให้น้อยที่สุด และอาจพิจารณาใช้วิธีจัดทำข้อมูลนิรนาม (Anonymization) การแฝงข้อมูล (Pseudonymization) เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล โดยบุคคลภายนอกที่เป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้กับมหาวิทยาลัยจะต้องจัดให้มีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสมตามนโยบายนี้ และมหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกดังกล่าวใช้ข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากที่มหาวิทยาลัยกำหนด

4. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

มหาวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครเข้าศึกษา และกำหนดให้มีมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับการรักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการสูญหาย การเข้าถึง ทำลาย ใช้ แปลง แก้ไขหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่มีสิทธิหรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยให้เป็นไปตามที่กำหนดในนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย

5. การใช้คุกกี้ (Cookies)

มหาวิทยาลัยจะส่งข้อมูล “คุกกี้” ไปยังโปรแกรมค้นผ่านเว็บไซต์ (Web browser) ของผู้สมัครเข้าศึกษา และเมื่อมีการติดตั้งข้อมูลดังกล่าวไว้ในระบบของท่านแล้ว หากมีการใช้ “คุกกี้” จะทำให้เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย สามารถบันทึกหรือจดจำข้อมูลของผู้สมัครเข้าศึกษาไว้ จนกว่าผู้สมัครเข้าศึกษาจะออกจากโปรแกรมค้นผ่านเว็บไซต์ หรือจนกว่าผู้สมัครเข้าศึกษาจะทำการลบ “คุกกี้” นั้น หรือไม่อนุญาตให้ “คุกกี้” นั้น ทำงานอีกต่อไป
หากท่านเลือกใช้ “คุกกี้” ท่านจะได้รับความสะดวกในการท่องเว็บไซต์มากขึ้น เพราะ “คุกกี้” จะช่วยจดจำเว็บไซต์ที่ท่านแวะหรือเยี่ยมชม ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยจะนำข้อมูลที่ “คุกกี้” ได้บันทึกหรือเก็บรวบรวมไว้ ไปใช้ในการวิเคราะห์เชิงสถิติ หรือในกิจกรรมอื่นของมหาวิทยาลัย เพื่อปรับปรุงคุณภาพการให้บริการของมหาวิทยาลัยต่อไป

6. ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล

มหาวิทยาลัยจะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครเข้าศึกษาตลอดระยะเวลาที่จำเป็นในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย รวมถึงงานต่าง ๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับด้านกฎหมาย การเงินและการบัญชี และการติดตามตรวจสอบต่าง ๆ โดยให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

7. สิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครเข้าศึกษา

ผู้สมัครเข้าศึกษามีสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลดังต่อไปนี้

สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of Access) โดยผู้สมัครเข้าศึกษาสามารถขอรับสำเนาข้อมูลของผู้สมัครเข้าศึกษาและตรวจสอบว่ามหาวิทยาลัยได้ประมวลผลข้อมูลของผู้สมัครเข้าศึกษาตามกฎหมายหรือไม่
สิทธิในการโอนข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Data Portability) ในกรณีที่มหาวิทยาลัยได้จัดทำข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติ และสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ ผู้สมัครเข้าศึกษาสามารถ
ขอให้มหาวิทยาลัยส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครเข้าศึกษาไปยังหน่วยงานอื่นได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือ
ขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่มหาวิทยาลัยส่งหรือโอนไปยังหน่วยงานอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Object) โดยผู้สมัครเข้าศึกษาสามารถคัดค้านในกรณีที่มหาวิทยาลัยประมวลผลข้อมูลของผู้สมัครเข้าศึกษา
ตามภารกิจสาธารณะ (Public Task) หรือตามประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest) ของมหาวิทยาลัย
เพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตลาดแบบตรง
เพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสถิติ เว้นแต่เป็นการจำเป็นเพื่อการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะของมหาวิทยาลัย
สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Erasure) โดยผู้สมัครเข้าศึกษาสามารถขอให้ลบข้อมูล หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวผู้สมัครเข้าศึกษาได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
เมื่อหมดความจำเป็นในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
เมื่อผู้สมัครเข้าศึกษาถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล และมหาวิทยาลัยไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนั้นได้ต่อไป
เมื่อผู้สมัครเข้าศึกษาคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครเข้าศึกษาแล้ว
เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลได้ถูกประมวลผลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Restrict Processing) โดยผู้สมัครเข้าศึกษาสามารถขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครเข้าศึกษาได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
เมื่อมหาวิทยาลัยอยู่ในระหว่างการตรวจสอบตามที่ผู้สมัครเข้าศึกษาขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล
เมื่อเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องลบหรือทำลาย แต่ผู้สมัครเข้าศึกษาขอให้ระงับการใช้แทน
เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลหมดความจำเป็นในการเก็บรักษาไว้ตามวัตถุประสงค์ แต่ผู้สมัครเข้าศึกษามีความจำเป็นต้องขอให้เก็บรักษาไว้เพื่อใช้ในการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย การปฏิบัติตามหรือการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือการยกขึ้นต่อสู้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย
เมื่อมหาวิทยาลัยอยู่ในระหว่างการพิสูจน์ หรือตรวจสอบ ตามคำขอใช้สิทธิในการคัดค้านของผู้สมัครเข้าศึกษา
สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Rectification) ผู้สมัครเข้าศึกษาสามารถขอแก้ไขข้อมูลของผู้สมัครเข้าศึกษาให้ถูกต้อง สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบันได้ หากผู้สมัครเข้าศึกษาพบว่าข้อมูลของผู้สมัครเข้าศึกษาไม่ถูกต้อง สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน แต่มหาวิทยาลัยไม่สามารถตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลดังกล่าวได้ด้วยตนเอง

ในบางกรณีตามสภาพของการดำเนินการ มหาวิทยาลัยอาจไม่สามารถดำเนินการตามที่ผู้สมัครเข้าศึกษาขอได้ เช่น มหาวิทยาลัยมีความจำเป็นต้องดำเนินการตามหน้าที่ตามสัญญาหรือกฎหมาย เป็นต้น อย่างไรก็ดีในกรณีที่ผู้สมัครเข้าศึกษาได้ให้ความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลไว้ ผู้สมัครเข้าศึกษาสามารถถอนความยินยอมนั้นเมื่อใดก็ได้ด้วยการส่งอีเมล์ไปยังส่วนงานที่เกี่ยวข้อง โดยมหาวิทยาลัยจะยุติการประมวลผลข้อมูลดังกล่าวโดยเร็วที่สุด แต่การถอนความยินยอมนั้นจะไม่มีผลเป็นการยกเลิกเพิกถอนการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
ขอให้ผู้สมัครเข้าศึกษารับทราบว่ามหาวิทยาลัยจะบันทึกรายการต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการเกี่ยวกับคำร้องของผู้สมัครเข้าศึกษาเอาไว้เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หากมีข้อสงสัยในรายละเอียดทางปฏิบัติของการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ผู้สมัครเข้าศึกษาอาจศึกษาได้จากแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้ที่เว็บไซต์ cec.kmutt.ac.th
ในกรณีที่ผู้สมัครเข้าศึกษาประสงค์จะใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้น หรือมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โปรดติดต่อที่อีเมล icec@kmutt.ac.th เจ้าหน้าที่จะรีบดำเนินการตามคำร้องของผู้สมัครเข้าศึกษาโดยเร็วและสอดคล้องกับที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ดีผู้สมัครเข้าศึกษามีสิทธิร้องเรียนเกี่ยวกับการไม่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายได้ที่สำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

8. การทบทวนและปรับปรุงนโยบายนี้

มหาวิทยาลัยขอสงวนสิทธิในการทบทวนและปรับปรุงนโยบายนี้ตามที่มหาวิทยาลัยเห็นสมควร โดยจะแจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของนโยบายนี้ และมหาวิทยาลัยอาจแจ้งเตือนเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นระยะ

9. การปฏิบัติตามนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการติดต่อกับมหาวิทยาลัย

ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย ข้อเสนอแนะ หรือข้อติชมใด ๆ เกี่ยวกับนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือการปฏิบัติตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ มหาวิทยาลัยยินดีที่จะตอบข้อสงสัย รับฟังข้อเสนอแนะ และคำติชมทั้งหลาย อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการให้บริการของมหาวิทยาลัยต่อไป โดยท่านสามารถติดต่อกับมหาวิทยาลัย ตามที่อยู่ที่ปรากฏข้างล่างนี้

ศูนย์การศึกษาต่เนื่อง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
โทรศัพท์ : 02-470-9630-5
อีเมล : icec@kmutt.ac.th
เว็บไซต์ : https://cec.kmutt.ac.th